Friday 6 April 2012

อำเภอท่าตูม

อำเภอท่าตูม

อำเภอท่าตูมเดิมชื่ออำเภออุดร เนื่องจากอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสุรินทร์ แต่ตั้งสถานที่ทำงานอยู่ในเมืองสุรินทร์

 ต่อมาทางราชการได้แต่งตั้ง นายพิณ จรัณยานนท์ (หลวงสนิทนิคมรัฐ) มาตำรงตำแหน่งนายอำเภออุดร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖ ได้ปลูกสร้าง สถานที่ที่ว่าการอำเภอขึ้นที่ฝั่งแม่นํ้ามูล 

ภายหลังพิจารณาเห็นว่าที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอยังไม่ เหมาะสมเนื่องจากอยู่ใกล้ริมฝังแม่นํ้ามูลเกินไป ฤดูฝนนํ้าไหลเซาะตลิ่งพังทุกปี และที่ดินน้อยลงทุกปี จึงได้ย้ายไปตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่บริเวณตลาดสดทุกวันนี้ และได้เปลี่ยน ชื่อใหม่ว่า อำเภอสุรพิณท์

เนื่องจากอำเภอสุรพิณท์ ต้องขึ้นต่อเมืองขุขันธ์ ซึ่งมีระยะทางไกลมาก สร้างความ ลำบากให้แก่ข้าราชการและราษฎรที่จำเป็นต้องไปติดต่อราชการ ต้องเสียเวลาและเสี่ยงต่อ อันตรายอย่างยิ่ง จึงได้พิจารณาให้อำเภอสุรพิณท์มาขึ้นต่อเจ้าเมืองสุรินทร์ ต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อเป็นอำเภอท่าตูม

พุทธศักราช ๒๙๙๙ ได้ย้ายสถานที่ตั้งอำเภอไปตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่าง จากที่เดิมประมาณ 10 เส้น
จนกระทั่งปัจจุบันนี้ที่ว่าการอำเภอท่าตูม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลท่าตูม มีพื้นที่ ๖๔๓,๒๕๖ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
 ทิศใต้     ติดต่อกับอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอรัตนบุรี และอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
 ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอชุมพลบุรี จังหวัด สุรินทร์

ลักษณะภูมิประเทศ

 บริเวณตอนเหนือและตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่ การทำนา แต่ในปีใดมีน้ำมาก นํ้าจะท่วมจนทำนาเกือบไม่ได้ผล

 ส่วนบริเวณตอนใต้ เป็นที่ราบบ้าง ที่เนินสูงเหมาะแก่การทำนาและปลูกพืชไร่

สภาพดินฟ้าอากาศในฤดูร้อน ค่อนข้างร้อนจัด ฤดูหนาวค่อนข้างหนาวจัด สำหรับฤดูฝน ฝนตกน้อยไม่สม่ำเสมอและ ไม่ถูกต้องตามฤดูกาล

ลำนํ้าสำคัญที่ไหลผ่านคือ มูล ชี และลำพลับพลา

ทรัพยากรสำคัญ คือป่าไม้

สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

 เช่น บ้าน ตากลาง หมู่ที่ ๑๓ ตำบลกระโพ ซึ่งเป็นหมู่บ้านช้าง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่สนใจ อยากชมช้าง ปราสาทที่บ้านปราสาท ตำบลท่าตูม บังลังก์ที่บ้านบัลลังก์ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลท่าตูม มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอยู่ที่เขาดิน ตำบลท่าตูม ฯลฯ

การปกครอง 
อำเภอท่าตูมแบ่งส่วนการปกครอง ดังนี้ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๑๐ ตำบล ๑๖๒ หมู่บ้าน การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบล ๙ แห่ง สภาตำบล ๑ แห่ง สุขาภิบาล ๑ แห่ง

No comments:

Post a Comment