Friday 6 April 2012

ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและประชากรของสุรินทร์

ทรัพยากร

จังหวัดสุรินทร์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งจังหวัด ประมาณ ๑,๔๓๔,๐๐๑ ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์เหลืออยู่ประมาณ ๑๘๗,๓๔๓ ไร่
(จากเอกสารบรรยายสรุปจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๔๐) มีการตัดไม้ทำลายป่าค่อนข้างสูง โดย เฉพาะการบุกรุก แผ้วถาง เพื่อการเกษตรกรรม

ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอสังขะ อำเภอบัวเชดอำเภอกาบเชิงและ กิ่งอำเภอพนมดงรัก และยังมีป่าไม้กระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอ เมืองสุรินทร์ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอลำดวน และอำเภอศีขรภูมิ

 ต้นไม้ที่มีอยู่โดยทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ต้นเต็ง รัง ยาง ประดู่ พะยูง ตาด แดง กะบาก และอื่นๆ รวมทั้งต้นมันปลา หรือต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ จากการที่ป่าไม้ถูกทำลาย มาก จึงมีการปลูกป่าทดแทน หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อการใช้สอย เช่น ต้นกระถินณรงค์ และต้นยูคาลิปตัสเกือบทุกอำเภอ

นอกจากนั้น มีการปลูกต้นยางพาราที่อำเภอกาบเชิง อำเภอพนมดงรัก และกิ่งอำเภอศรีณรงค์ บางอำเภอสามารถกรีดยางได้แล้ว

 ส่วนทรัพยากร ธรรมชาติอื่นๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ บ่อหินลูกรัง (อำเภอท่าตูม อำเภอสำโรงทาบ อำเภอสังขะ) และทรายแม่นํ้ามูลที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง (อำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี)

เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ส่วนใหญ่จะเลี้ยงโค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ส่วนสัตว์ ชนิดอื่นๆ เช่น แพะ แกะ ไก่งวง ห่าน มีการเลี้ยงน้อยมาก การเลี้ยงสัตว์นั้นจะเลี้ยงเป็น อาชีพเสริมเกือบทุกครัวเรือน โดยเลี้ยงสัตว์หลายๆ ชนิดรวมกันในบริเวณบ้าน หรือ ใต้ถุนบ้าน เป็นการเลี้ยงแบบดั้งเดิมตามที่บรรพบุรุษเคยเลี้ยงมา ไม่ค่อยมีการใช้เทคโนโลยี ใหม่ๆ มากนัก 

แต่ที่พิเศษกว่าจังหวัดอื่น คือ การเลี้ยงช้าง ซึ่งเลี้ยงกันมากที่หมู่บ้านช้าง (บ้านตากลาง) อำเภอท่าตูม

ส่วนสัตว์นํ้าที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ส่วนมากเป็นปลานํ้าจืดที่มีอยู่ทั่วไปเหมือนกับ จังหวัดอื่นๆ เช่น ปลาดุก ปลาซ่อน ปลาหมอ รวมทั้งปลานํ้าจืดอื่นๆ ที่สถานีประมงนํ้าจืด จังหวัดสุรินทร์ เพาะเลี้ยงและให้การสนับสนุน

ส่วนทรัพยากรแร่ธาตุต่างๆ นั้น ยังไม่มีการ พบแต่อย่างใด คงมีเพียงหินสีต่างๆ เท่านั้น
สิ่งแวดล้อม

จังหวัดสุรินทร์ มีการพัฒนาและ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีชุมชนเมือง (เขตเทศ บาลเมืองสุรินทร์) ที่อยู่อย่างแออัด มียาน พาหนะมากส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจร โดย เฉพาะบริเวณตลาดสดในเขตเทศบาล และ บริเวณสถานศึกษา มีผลกระทบทางด้าน มลภาวะบ้าง แต่ไม่รุนแรงนัก

ปัญหาขยะและ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างน้อย เพราะได้รับการเอาใจใส่ ดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี

จากข้อมูลจำนวนโรงงานแยก ตามประเภทอุตสาหกรรมที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์สำรวจไว้พบว่า ในจังหวัด สุรินทร์ มีอุตสาหกรรมการเกษตร ๓,๐๒๒ แห่ง อุตสาหกรรมก่อสร้าง ๘๔ แห่ง 

อุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม ๔ต แห่ง อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ ๔๐ แห่ง อุตสาหกรรมซึ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ๔ แห่ง อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก ๒ แห่ง อุตสาหกรรมโลหะและ อโลหะ ๑๖ แห่ง อุตสาหกรรมบริการ ๑๔๒ แห่ง อุตสาหกรรมอื่นๆ ๑๒ แห่ง

โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอสังขะ ซึ่งไม่ปรากฏว่า มีปัญหาต่อระบบนิเวศวิทยาแต่อย่างใด คงมีเฉพาะเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์เท่านั้นที่มี ปัญหาในระบบการระบายนํ้า เมื่อมีฝนตกชุก

การคมนาคม

จังหวัดสุรินทร์ มีเส้นทางคมนาคม สะดวกทุกฤดูกาล ทั้งทางรถไฟ และทางรถยนต์ มีเส้นทางจากจังหวัดสุรินทร์ถึงจังหวัด ต่างๆ เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด มหาสาร- คาม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ฯลฯ

ส่วนการคมนาคมระหว่าง ตัวจังหวัดกับอำเภอต่างๆ นั้น ขณะนี้มี ถนนลาดยางเข้าถึงทุกอำเภอ และหลายหมู่บ้าน คงมีบางหมู่บ้านในพื้นที่กันดารที่การคมนาคมไม่สะดวกในฤดูฝน

ประชากร

จังหวัดสุรินทร์ มีประชากรตามประกาศของกรมการปกครองจำนวนทั้งสิน ๑,๓๑๙,๗๔๐ คน เป็นชาย ๖๖๐,๒๔๒ คน เป็นหญิง ๖๔๙,๔๙๘ คน แยกรายละเอียด ได้ดังนี้(ข้อมูลวันที่ 3พฤษจิกายน 2541)




จากจำนวนประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์นั้น
ร้อยละ ๙๒ อาศัย อยู่ในเขตชนบท

ภาษาพื้นเมืองที่ใช้ในการสื่อสาร มี 3 ภาษา คือ ภาษาเขมร ภาษาส่วย และภาษาพื้นเมืองอีสาน (ลาว)
จากภาษาพูดที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ลัทธิความเชื่อก็แตกต่างกัน แต่โดยภาพรวมแล้ว ลัทธิความเชื่อ ได้รับอิทธิพลสูงจากศาสนาพราหมณ์

ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม แต่ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ก็มีความรัก ความสามัคคีต่อกันเป็น อย่างดี ไม่ปรากฏว่ามีปัญหาระหว่างกลุ่มชนแต่อย่างใด ยังคงยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างเหนียวแน่นและมั่นคง

ประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ร้อยละ ๙๗ นับถือศาสนาพุทธ รองลงไปได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม พราหมณ์ ฮินดู และซิกส์ ตามลำดับ

อาชีพหลักของราษฎรส่วนใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ การทำนา ซึ่งมีสูงถึงร้อยละ ๙๕ รองลงไปได้แก่ การทำสวน ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ ตามลำดับ

No comments:

Post a Comment