Sunday 1 April 2012

สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมของจังหวัดสุรินทร์

สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคมของจังหวัดสุรินทร์


ที่มาของข้อมูลในบล็อคนี้ทั้งหมดอ้างอิงมาจาก


หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดสุรินทร์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔.



๑. สภาพภูมิศาสตร์
๑.๑ ที่ตั้ง จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่าง เส้นแวงที่ ๑๐ต และ ๑๐๕ องศาตะวันออก เส้นรุ้งที่ ๑๕' และ ๑๖ องศาเหนือ ระยะทาง ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๔๒๐ กิโลเมตร (ทางรถไฟ) และประมาณ ๔๔๐ กิโลเมตร (ทางรถยนต์)

อาณาเขตของจังหวัดสุรินทร์

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้     ติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ประมาณ ๘,๑๒๔.๐๕๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔,๐๗๗,๔๓๙ ไร่ หรือเท่ากับร้อยละ ๔.๘ ชองพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งหมด

๑.๒ สภาพภูมิประเทศ จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงมีลักษณะพื้นที่
ดังนี้

๑.๒.๑ ทางตอนใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ราบสูง มีภูเขาสลับซับซ้อนหลายลูก มีป่าทึบสลับปาเบญจพรรณตามบริเวณแนวเขตชายแดน (อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิงและกิ่งอำเภอพนมดงรัก) ที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ต่อจาก บริเวณภูเขาลงมาเป็นที่ราบสูง ลุ่มๆ ดอนๆ ลาดเทมีลักษณะเป็นลูกคลื่น ค่อยๆ ลาดเท ไปทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัด

๑.๒.๒ ทางตอนกลางของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม แต่มีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอน สลับที่ลุ่มลอนลาดเช่นเดียวกัน แต่ไม่มากเท่าทางตอนใต้ของจังหวัด (อำเภอเมืองสุรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศีขรภูมิอำเภอสำโรงทาบ อำเภอ ลำดวน และกิ่งอำเภอศรีณรงค์


                  ๑.๒.๓ ทางตอนเหนือของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ (อำเภอจอมพระ อำเภอสนม) และที่ราบลุ่ม (อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี และกิ่งอำเภอ โนนนารายณ์) โดยเฉพาะอำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม อยู่ในที่ราบลุ่มแม่นํ้ามูลในเขต ของ ทุ่งกุลาร้องไห้

ลักษณะของดินในจังหวัดสุรินทร์ เป็นดินร่วนปนทราย มีบางพื้นที่ เช่น กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ เป็นดินเหนียวปนทราย ฉะนั้นดินในจังหวัดสุรินทร์ จึงอุ้มนํ้า ได้น้อย
มีบางส่วนเป็นหินภูเขา เป็นหินภูเขาที่ไต้จากเขาสวาย ท้องที่ตำบลสวาย สำหรับป้อนโรงงาน โม่หินเพื่อใสัประโยชน์ในการก่อสร้าง ลูกรัง มีในท้องที่ตำบลนาบัว

 สภาพภูมิอากาศ

จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในแถบของลมมรสุมเขตร้อน ลักษณะ ของลมฟ้า อากาศ และปริมาณนํ้าฝน
จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญ ลมมรสุม ที่พัดผ่านคือ

๑ .ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่บริเวณภาค ใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดฝนตก แต่จังหวัดสุรินทร์ได้รับปริมาณ นํ้าฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีเทือกเขาพนมดงรักกั้นอยู่  ปริมาณนํ้าฝนส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลของลมพายุในทะเลจีนใต้

๒ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากแคว้นไซบีเรียและทางตอน เหนือของประเทศจีน ทำให้เกิดความหนาวเย็นและความแห้งแล้งโดยทั่วไป โดยเฉพาะ จังหวัดสุรินทร์ได้รับผลกระทบค่อนข้างสูง

 ฤดูกาลในจังหวัดสุรินทร์ มี 3 ฤดู ในแต่ละฤดูจะมีช่วงเวลาไม่ คงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และอิทธิพลของลมมรสุมเป็นหลัก แต่โดยทั่วๆ ไป พอสรุปได้ดังนี้

-ฤดูร้อน อยู่ระหว่างช่วงเดือน กุมภาพันธ์ หรือมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคมอากาศร้อนอบอ้าว และร้อนจัดมากในบางช่วง ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งโดยทั่วไป                    
                              
-ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือน  พฤษภาคม หรือมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม ปริมาณนํ้าฝนไม่แน่นอน บางปีมาก บางปี น้อย ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมและลม พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้   

-ฤดูหนาว อยู่ระหว่างช่วง เดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม ความหนาวเย็นในแต่ละปีขึ้นอยู่กับ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และร่องความกดอากาศจากประเทศจีน

ภูเขาและแหล่งนํ้า

จังหวัดสุรินทร์ มีเทือกเขาพนมดงรักทอดยาว ตามแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา ทางด้านตอนใต้ของจังหวัด มีเขาสวายหรือพนมสวายในเขต ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว มียอดเตี้ยๆ3 ยอด

ยอดที่ ๑ ชื่อยอดเขาชาย (พนมเปราะ) เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ปางประทานพร ภปร.

ยอดที่ ๒ ชื่อยอดเขาหญิง (พนมซแร็ย) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป องค์ขนาดกลาง

ยอดที่ ๓ ชื่อยอดเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ ได้สร้าง ศาลาอัฏฐะมุขเพี่อเป็นอนุสรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี เป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง และสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปูดูลย์ อตุโล) เกจิอาจารย์ ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ
ปัจจุบันเขาสวายได้รับการประกาศเป็น วนอุทยานพนมสวาย

 จังหวัดสุรินทร์มีแหล่งนํ้าที่สำคัญ คือ

แม่นํ้ามูล ต้นนํ้าเกิดจากภูเขาดงพญาเย็น เขตอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ทางเขตอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี ไหลลงสู่ แม่นํ้าโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งนํ้าที่ใชัประโยชน์ทางด้านการเกษตร การเพาะปลูก การคมนาคม นอกจากนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์นํ้าต่างๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ของราษฎร หากไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้ง จะมีนํ้าตลอดทั้งปี

ลำน้ำชีต้นนํ้าเกิดจากเขาพนมดงรัก เป็นลำน้ำที่แบ่งอาณาเขตจังหวัดสุรินทร์ กับจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นลำนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ ความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอ จอมพระ และไปบรรจบแม่นํ้ามูลที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

ลำนํ้าห้วยพลับพลา ต้นน้ำเกิดจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ไหลผ่านทุ่งกุลาร้องไห้ ลงสู่แม่นํ้ามูลที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นลำห้วย ที่แบ่งอาณาเขตจังหวัดสุรินทร์ กับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด

ลำห้วยทับทัน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลผ่านเขตอำเภอสังขะ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ อำเภอสำโรงทาบ กิ่งอำเภอโนนนารายณ์ อำเภอรัตนบุรี และไหล ลงสู่แม่นํ้ามูล

ลำห้วยระวี ไหลผ่านเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอจอมพระ และอำเภอท่าตูม ทางจังหวัดได้ทำการขุดลอก และสร้างฝายนํ้าล้นกั้นเป็นช่วง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การเพาะปลูก และการอุปโภคบริโภค

ลำห้วยเสนง ต้นนํ้าเกิดจากเขาพนมตงรัก ไหลผ่านเขตอำเภอสังขะ กิ่งอำเภอ ศรีณรงค์ เป็นแหล่งนํ้าที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ในฤดูแล้งนํ้าแห้งเป็น บางช่วงของลำห้วย
ลำห้วยระหาร ไหลผ่านเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ ในฤดูฝนนํ้าจะท่วมหลาก แต่ ในฤดูแล้งนํ้าจะแห้งขอด ไม่สามารถกักเก็บนํ้าไว้ใช้ประโยชน์ได้

ลำห้วยแก้ว ไหลผ่านเขตอำเภอรัตนบุรี และไหลลงสู่แม่นํ้ามูล ฤดูแล้งบางช่วง ชองลำห้วยนํ้าตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บนํ้าไว้ใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน

ลำห้วยสำราญ เป็นลำห้วยที่แบ่งอาณาเขตจังหวัดสุรินทร์ กับจังหวัดศรีสะเกษ ต้นนํ้าเกิดจากเขาพนมดัจ {เขาขาด) และพนมชแร็ยชระน็อฮ (เขานางโศก) ไหลผ่านเขต อำเภอบัวเชด และอำเภอสังขะ

ลำห้วยจริง เป็นลำห้วยที่แบ่งอาณาเขต อำเภอศีขรภูมิ กับกิ่งอำเภอโนน- นารายณ์และสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์มืโครงการชลประทาน ๑ แห่งคือ โครงการชลประทาน ห้วยเสนง (ชะเนง = เขาสัตว์) อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นโครงการส่งนํ้าทดนํ้า เอื้อ ประโยชน์ต่อการทำนาในพื้นที่ไม่ตากว่า ๔๖,๑๘๐ ไร่

นอกจากแหล่งนํ้าดังกล่าวแล้ว จังหวัดสุรินทร์ยังมีแหล่งนํ้าอื่นๆ ในเขตอำเภอ ต่างๆ อีก เช่น

อำเภอเมืองสุรินทร์ มีอ่างเก็บนํ้าอำปึล ตำบลเทนมีย์ และอ่างเก็บนํ้าหนองศาลา ตำบลนอกเมีอง

อำเภอปราสาท มีอ่างเก็บนํ้าสุวรรณาภา ตำบลกังแอนและอ่างเก็บนํ้าลุมพุก ตำบลตาเตียว

อำเภอชุมพลบุรี มีอ่างเก็บนํ้าหนองกระทุ่ม ตำบลชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม มีอ่างเก็บนํ้าลุงปุง ตำบลท่าตูม

อำเภอรัตนบุรี มีอ่างเก็บนํ้าห้วยแก้ว ตำบลรัตนบุรี อ่างเก็บนํ้าหนองกา ตำบล นํ้าเขียว และอ่างเก็บนํ้าหนองนํ้าใส ตำบลดอนแรด

อำเภอจอมพระ มีอ่างเก็บนํ้าห้วยระหาร ตำบลบุแกรง อำเภอศีขรภูมิ มีอ่างเก็บนํ้าลำพอก ตำบลยาง

อำเภอกาบเชิงมีอ่างเก็บนํ้าบ้านสกล ตำบลดูดัน อ่างเก็บนํ้าตาเกาว์ ตำบลกาบเชิงอ่างเก็บนํ้าห้วยด่าน และอ่างเก็บนํ้าห้วยเสิง ตำบลด่าน

อำเภอบัวเชดมีเขื่อนบ้านจรัส และเขื่อนบ้านทำนบ ตำบลจรัส

และแหล่งนํ้าอื่นที่ไม่เอื้อประโยชน์มากนัก เนื่องจากในฤดูแล้งไม่มีนํ้าอีกเป็นจำนวนมาก



สำหรับชื่อสถานที่่ บุคคลต่างๆอาจมีความผิดพลาดได้เนื่องจากกระบวนการทำบล็อคของเจ้าของบล็อคจึงขออภัยมา ณ ที่นี้ 


No comments:

Post a Comment