Saturday 7 April 2012

อำเภอศีขรภูมิ

อำเภอศีขรภูมิ

ในปีพุทธศักราซ ๒๔๑๒ ตรงกับรัชสมัยซองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เรียกว่า เมืองศรีขรภูมิพิสัย มีพระศรีขรภูมานุรักษ์เป็นเจ้าเมือง ขึ้นตรงต่อเมืองสังขะ

 ต่อมาราวพุทธศักราช ๒๔๔๐ ภายหลังจากบ้านเมืองไต้จัดระเบียบการ ปกครองเป็นรูปมณฑลเทศาภิบาลทั่วราชอาณาจักรแล้ว ทางราชการจึงได้ยุบเมืองศรีขรภูมิพิสัย ลงเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอศรีขรภูมิพิสัย ขึ้นตรงต่อจังหวัดสุรินทร์ แต่ในปัจจุบันเรียก อำเภอศีขรภูมิ

ที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ ตั้งอยู่ที่ถนนเสรีธิปัตย์ หมู่ที่ ๒ ตำบลระแงง มีพื้นที่ประมาณ ๔๖๑.๖๑๓ ตารางกิโลเมตร 

อำเภอศีขรภูมิมีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสนม และอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ทิศใต้      ติดต่อกับอำเภอสังขะ และกิ่งอำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอจอมพระ จังหวัด สุรินทร์

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพของดินในห้องที่อำเภอศีขรภูมิ เป็นดินปนทราย สภาพ อากาศฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด และมีปริมาณนํ้าฝนน้อย ฝนมักจะไม่ ตกต้องตามฤดูกาล

แหล่งน้ำสำคัญ ของอำเภอศีขรภูมิมีอ่างเก็บนํ้า ๙ แห่ง คือ อ่างเก็บนํ้าห้วยลำพอก อ่างเก็บนํ้าขนาดเล็ก บ้านกาเจาะกุดทอง ตำบลตรึม อ่างเก็บนํ้าขนาดเล็ก บ้านแตล อ่างเก็บนํ้าขนาดเล็ก บ้านสำโรงไพรษร ตำบลขวาวใหญ่ อ่างเก็บนํ้าขนาดเล็ก บ้านคาละแมะ ตำบลคาละแมะ

สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยว คือ ปราสาทศีขรภูมิ และปราสาทบ้านช่างปี่

การปกครอง อำเภอศีขรภูมิแบ่งการปกครอง ดังนี้

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๑๕ ตำบล ๒๑๔ หมู่บ้าน
การบริหารราชการส่วนท้องกิน มีองค์การบริหารส่วนตำบล ๑๔ แห่ง สุขาภิบาล๑ แห่ง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๑๒ ตำบล ๑๕๕ หมู่บ้าน ๑ กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอศรีณรงค์
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบล ๑๒ แห่ง สุขาภิบาล๑ แห่ง

No comments:

Post a Comment