Tuesday 10 April 2012

อำเภอชุมพลบุรี

อำเภอชุมพลบุรี

ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๒๕ คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวข้ามไปตั้ง ภูมิลำเนาในพื้นที่ด้านเหนือลำนํ้ามูล มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรฯ จึงได้มีใบบอกขอยก บ้านทัพค่ายขึ้นเป็นเมือง และขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง ซึ่งได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทัพค่ายขึ้นเป็นเมืองชุมพลบุรี ตั้งพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นพระ- ฤทธิรณยุทธ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองชุมพลบุรีคนแรก

ต่อมาเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑล เมืองชุมพลบุรีซึ่งเป็นเมืองใหม่ และเป็นเมืองเล็ก จึงถูกยุบเป็นอำเภอในนามเดิม อำเภอชุมพลบุรีมีฐานะเป็นอำเภอได้ไม่นาน ก็ถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๐ 

จนกระทั่ง พุทธศักราช ๒๔๙๖ จึงด้ยกฐานะอำเภอชุมพลบุรีขึ้นเป็นอำเภอมาจนถึงปัจจุบันนี้

ที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนสายชุมพลบุรี-ท่าตูม หมู่ที่ ๑ ตำบลชุมพลบุรี

 อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ประมาณ ๕๒๐.๒๔๖ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามและอำเภอ เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 
มีลำห้วยพลับพลาเป็นเส้นแบ่งเขต
 ทิศใต้         ติดต่อกับอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์มีลำนํ้ามูลเป็นเส้นแบ่งเขต
 ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีคลองและทางเกวียนเป็น เส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีห้วยลำพังชู เป็น เส้นแบ่งเขต

ลักษณะภูมิประเทศ 

เป็นที่ราบและเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ พื้นดินเป็น ดินปนทราย และแห้งแล้งให้ฤดูแล้ง ในฤดูฝนนํ้าท่วม มีป่าโปร่งอยู่ประปรายตามริมฝั่งนํ้ามูล และลำนํ้าอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากนักเพราะเป็นไม้ขนาดเล็ก

ลำน้ำสำคัญ คือ ลำนํ้ามูล ลำพลับพลา ที่อำเภอชุมพลบุรีนี้พบแหล่งแร่บ้าง แต่ มีเพียงจำนวนน้อย

การปกครอง อำเภอชุมพลบุรีแบ่งการปกครอง ดังนี้
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๙ ตำบล ๑๑๗ หมู่บ้าน
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบล ๙ แห่ง

No comments:

Post a Comment